Scottish Universities Alumni
"รีวิวเรียนต่อ Civil Engineering and Management ที่ Glasgow"
อยากให้พี่ๆแนะนำว่าคอร์สดียังไง ทำไมถึงเลือกเรียนที่นี่?
พี่ไผ่: ตอนเลือกมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เริ่มจากว่า ranking ก่อนว่าในสาขาของเรา ผมเรียน civil เป็นวิศวะโยธาโดย rank ของ UK เป็นยังไงบ้าง แต่ตอนปีที่สมัคร เป็นปีที่ 2 ใน UK นะครับ ranking โดยยูเนซี่ไกด์นะครับ เราดู ranking เสร็จ เราก็ดูว่าบรรยากาศเป็นยังไง history มหาวิทยาลัยของ UK ที่เก่าแก่หรือเปล่า ผมสนใจในด้านนั้นนะครับ แล้วก็ดูเรื่อง environment ว่าที่น่าไปหรือเปล่าแล้วดูรูปสวยไหม และตอนนั้นนะครับที่บ้านก็พาไปดูมหาวิทยาลัยที่สนใจ คือไปที่ UK จริงๆเลย มันน่าอยู่จริงๆหรือเปล่า หลักการการเลือกก็ประมาณนี้
คลาสเรียนเป็นยังไงบ้างคะ หมายถึงอาจารย์สอนเป็นยังไงเข้าใจไหม หรือมีเพื่อนในห้องเขาตั้งใจกันหรือเปล่า หรือต่างคนต่างเรียนค่ะ?
พี่ไผ่: สิ่งแรกที่เห็นด้วยมากๆเลยคือการเลือก Supervisor ที่ดี เพราะว่าของผมตอนทำ dissertation เดี๋ยวพูดก่อนหลักสูตรของบ้านเราเป็น 3 semester semester 1-2 เป็นเรียนนะครับ และ 3 ทั้งเทอมเลยจะทำ dissertation พอเรียนตอนนั้นเราไม่ได้ใส่ใจมาก เราเลือกที่หัวข้อเป็นหลัก แล้วพอได้ Supervisor มา กลายเป็นว่าการติดต่อกับเขาจะเป็นเรื่องยากมากเลย เหมือนกับเป็น one way communication ถ้าเขาอยากจะคุยกับเรา เขาจะเมลมาหา ถ้าเราเมลไปเขาจะเงียบ บางทีบางอย่างการที่เราติดขัด เราอยากจะถามอยากจะรู้อะไรเพิ่มเราต้องขวานขวายด้วยตัวเอง มันก็กะอักกะอ่วง ถ้าเราไม่ได้มีครูมา support สุดท้ายคือฉันคิดว่าเป็นอย่างนั้นก็เขียนไป แต่ก็เหมือนกันลักษณะการเขียนนะครับ เขียนว่าฉันคิดแบบนี้ หา claim มา support ว่าทำไมฉันคิดแบบนี้ แล้วก็หาตัวอย่างเยอะๆเขียนไป แล้วขอพูดในฐานะมีน้องคนหนึ่งจะไปเรียนที่กลาสโกว์เหมือนกัน จะพูดในหลักสูตรว่าเป็นยังไง และบรรยากาศเป็นยังไง เพราะอย่างที่บอกมันมี 2 อันคือ research กับ out course 2 อันแรกเป็นเรียนแบบ lecturer นั่งฟังและอันที่ 3 เป็น dissertation แต่ในขณะที่เราเรียนเป็นการนั่งฟัง เขาจะแบ่งออกเป็น 2 วิชา 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือหนึ่งเป็น 1.nature room และ 2.เป็น tutorial คือทั้งวิชาของ tutorial เหมือนกันจะเป็นการจัดกลุ่ม แล้วก็นั่ง discuss ในความคิดก็คือ เขาจะให้เราไปเรียนก่อนทฤษฎีต่างๆ จากนั้นเขาก็จะโยนโจทย์มา แล้วค่อยให้เราลองโฟกัสที่ว่า มันเป็นประเด็นนั้นประเด็นนี้ อันนี้คือเหมือนกับรูปแบบที่มันแตกต่างกับการเรียนไทยนะ มัน discuss กันในเชิงที่ว่า ช่วยกันคิดสิว่ามันไม่จำเป็นต้องมีอะไรถูกอะไรผิด ไอเดียอะไรใหม่ๆ เพราะว่ามันมีความหลากหลายของแต่ละประเทศ แต่ละประเทศเขาก็มีประสบการณ์ที่เขาสะสมมาไม่เหมือนกัน ทีนี้คือการก่อสร้างองค์ความรู้อะไรใหม่ๆเกิดจากการพูดคุยกัน และมีอีกอันนึงของที่กลาสโกว์ก็คือ มันมีหลักสูตรหนึ่งที่ผมว่าดีมากๆนะครับ มันเป็นชื่อวิชาว่า Project Design อะไรสักอย่าง ลักษณะคือเขาเอาวิศวะในหลายๆสาขา โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการมาจับ มหาวิทยาลัยเขาจะสุ่มชื่อมาเลย สุ่มมาแต่ละสาขา จากนั้นก็โยน project ให้ ทีนี้มันต้องทำ project ที่บูรณาการกันหลายๆสาขา ตอนนั้นผมทำเกี่ยวกับเรื่อง Wind Turbine นะครับ เป็นกังหันลม เป็นพลังงานหมุนเวียนเหมือนกัน เมืองกลาสโกว์มีเด่นที่ว่าลมมันแรง การจะทำลมอะไรให้มันได้อย่างนี้ ในการสร้างกังหันลม มันก็ต้องมี construction civil ของผม มีงานไฟฟ้า มีงานระบบพวกพลังงานหมุนเวียน renewable energy ผมว่ามันเป็นวิชาที่น่าสนใจ ถ้าน้องเลือกเรียนในหลักสูตรของกลาสโกว์ คิดว่ามันจะต้องมีแน่ๆวิชานี้ ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจครับ
พวก Text book พอหรือเปล่าหรือต้องแย่งกัน?
พี่ไผ่: พอครับ เหลือด้วย เพราะของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ห้องสมุดเป็น 9 ชั้นใหญ่ๆ และการเข้าถึงของหนังสือ เราไม่จำเป็นต้องไปหาบรรณารักษ์ อยากจะได้เล่มนี้ มันจะมี channel เป็น Glasgow Library นะครับ เราสามารถ search หัวข้อที่เราสนใจ พอเรา search เสร็จจะขึ้นเป็น Research เยอะมาก เป็น 1,000 อัน แล้วคลิกเข้าไปดูเลย ดูไฟล์ที่เป็น PDF แต่ไม่ใช่ว่าคนทั่วทั่วไปสามารถ access ได้ ต้องใช้ User หรือ password ของมหาวิทยาลัย พูดง่ายๆคือถ้าเขา support ด้าน data เขาค่อนข้างครบถ้วน
ทำงานพิเศษไหมคะ?
พี่ไผ่: เคยครับเป็นเด็กเสิร์ฟ ตอนนั้นทำเป็นที่ร้านอาหารไทย ชื่อร้านไทยสยาม ทำ 5 โมงเลิกประมาณ 3-4 ทุ่ม แล้วเขาจะให้เป็นรายวันนะครับ ให้เป็น cash เป็นเงินสด ครั้งหนึ่งได้ประมาณ 30 ปอนด์ และ weeks 1 แล้วแต่เขาเรียก ของที่ร้านถ้าเป็นเมืองกลาสโกว์จริงๆเขาก็มีร้านอาหารไทย มีไทยนิฟฟิค ไทยสยาม และมีเจ้าพระยา เจ้าพระยาในเมืองนะครับ อันนี้ก็เป็นร้านที่มีชื่อเสียง ของเพื่อนๆที่ทำด้วยกัน บางทีเขาจะได้เวรประจำวัน แต่ผมไม่รู้ผมเสิร์ฟไม่เก่งเลย ผมไม่ได้บรรจุเข้าไปในเวรประจำวันนั้น วันไหนเขาขาดคน คนไหนมาสาย ป่วย เขาค่อยเรียก ผมเป็นตัวสำรองเข้าไป ก็ได้ pocket money บ้าง แต่ทำได้สักพักหนึ่ง แล้วหลังๆเขาก็ไม่จ้างไม่รู้ทำไม เวลาทำอย่างนี้ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทาง connection จะได้เจอเพื่อนๆพี่ๆที่ได้มีโอกาสมาทำด้วยกัน แล้วหลังเลิกงาน เขาจะมีให้ทานข้าวด้วยกันต่อ ก็กินข้าวพูดคุยแลกเปลี่ยน และอีกอย่างหนึ่งพี่ที่เป็น Manager เขาก็อยู่ที่สก๊อตมาหลายสิบปี ดีไม่ดี 30 ปีเป็นคนไทย เพราะฉะนั้นประสบการณ์เขาเยอะ เรามีเรื่องอะไรไปปรึกษาเขาได้ทุกอย่างนะครับ ถือว่าเป็นเสาคอยช่วยเหลือ เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ดี
ถามเรื่องการเรียนในช่วงโควิด เป็นยังไงบ้างคะ ช่วง covid เรียนอยู่ดีๆ log down ใช่ไหมคะ?
พี่ไผ่: ใช่ครับ อันแรกเลย ผมรู้สึกว่าอยากจะพูดเป็นอันดับแรกเลยคือข้อสอบยากขึ้น ส่วนในเมื่อมหาวิทยาลัยมันปิด เพราะฉะนั้นการเรียนทั้งหมดจะไปผ่าน Online platform ผมใช้เป็น Zoom เรียนออนไลน์มาถึงเขาก็นัดเวลาเลย เปิดกล้องคุยกันแล้วก็เรียน แต่ทีนี้ระบบห้องเรียนผมไม่ค่อยได้เช็คชื่ออยู่แล้ว แล้วแต่เราสะดวกจะเข้ามาไหม แล้วอีกอันนึงที่เขาจะเพิ่มมา จริงๆของยูนิเซียมคลาส เขาจะไม่ได้ให้ทำ records หมายถึงบันทึกการเรียนการสอนวิดีโอไว้ แต่พอเรียนผ่านออนไลน์ก็เป็นข้อยกเว้น และใครไปดูย้อนหลังเอา
ในช่วงโควิด พอมันย้ายมาเป็น Online platform มันก็มีดีมีเสีย เมื่อกี้อย่างข้อเสียคือมันจะลด motivation ของเรา แรงที่เราอยากจะไปเรียน แต่ผมกลับมองว่าอีกส่วนหนึ่งที่มันได้เพิ่มขึ้นมาคือการเข้าถึงตัวอาจารย์ได้ง่ายขึ้น ที่ผมหมายถึงหมายถึงยังไง นึกภาพสมมุติ Lecture Room มีคนประมาณ 60 คน มันจะเป็นจุดเด่นมากเลย ในการยกมือขึ้นแล้วก็ถามว่า I have a question จะถามครูเขามันเป็นเรื่องยาก แต่ในกรณีเดียวกันถ้าสมมุติว่า เราเรียนผ่านออนไลน์ มันกลายเป็นว่าช่องมันจะมี box
ช่วงแรกมีปัญหาเรื่องภาษาไหม?
พี่ไผ่: ของผมนะครับ ขอพูด 2 ประเด็นแล้วกัน ภาษานะครับ อันแรกคือภาษาทำยังไงก็ได้ ทำอย่างไรให้ได้ไปเรียน แล้วอีกอันหนึ่งก็คือภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ภาษาที่ทำยังไงให้ถึงได้ไปเรียน คือมันเป็นหนึ่งใน requirement ถ้ามีโอกาสก็คือสอบให้ได้เลย อันนี้ไม่ติดอะไรแน่ๆ แต่ถ้ามันไม่ถึงก็ทำให้มันถึงเกณฑ์ ทีนี้ก็เลยจะมาพูดต่อว่า pre เป็นคอร์สในการปรับภาษา ถามว่ามันจะภาษาอย่างเดียวไหม มันไม่ได้ปรับภาษาอย่างเดียว เขาจะสอนในรูปแบบของการเขียน article เพราะในการเรียนนอกจากการสอบที่เป็น mathematics เราต้องมีสอบบางอันที่เป็นการบรรยาย แล้วรูปแบบหนึ่งของ Paper ต้องมีการใส่ citation หรือการ reference หรือรูปแบบการจัดว่า อะไรต้องมาก่อนอะไรมาหลัง เขียนยังไงให้มีความเป็น academic มันก็จะถูกอยู่ในหลักสูตรของ Pre-sessional course ด้วย และ pre-sessional course นอกจากทางด้านการเรียน เขาจะเสริมเขาจะให้เลือกกิจกรรมนันทนาการ การไปเที่ยวก็เป็นหนึ่งในนั้นนะครับ เขามีทริปให้แทบจะทุกสัปดาห์เลย ทริปพวกนี้ก็ input อยู่ในตัวค่า Fee อยู่แล้ว แล้วเรายิ่งไปร่วมกิจกรรมมากก็ถือว่าเป็นการเปิดโลก ในประเด็นที่ 2 เรื่องภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ผมค่อนข้างเชื่อจริงๆว่า ภาษาเราไม่ได้แค่พูด ที่กำลังจะสื่อคือ เรามีภาษาอื่นๆในการใช้ เช่น body language อย่างบางทีอย่างเราเรียน Scott มันคงหนีไม่พ้นเจอ Scottish เจออะไรอย่างนี้ ซึ่งมันฟังไม่เข้าใจ แต่คือไม่ใช่เข้าไปในมหาวิทยาลัย คือถ้าเราอยู่ในตัวมหาวิทยาลัย คนที่อยู่ในนั้นเขาจะใช้สำเนียงที่อ่อนลง คือไม่ได้เป็น Scottish จ๋า มีท่านอาจารย์หลายๆท่านมาจากตัว England คนที่มาจาก England มี British Accent สอนที่เป็นสำเนียงกลาง ส่วนที่อยากจะบอกก็คือ บางอย่างเวลาผมเจอลงรถไฟหรือไปเจอตาม shop ที่เจอ Subway เวลาเราไปซื้อแซนวิช บางทีถามเขาก็ไม่เข้าใจ เราก็ชี้ของอันนี้เท่าไหร่ เขาก็จะตอบเลย บางทีเราใช้ภาษามือในการช่วยได้ มันจะทำให้มันสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
ก่อนเรียนกับเรียน จบมาแล้ว skill เพิ่มขึ้นเยอะไหม?
พี่ไผ่: เพิ่มขึ้นอยู่แล้วครับ skill ทำอาหารเป็นอันดับ 1 แล้วกัน ทำอาหารทั่วไปนึ่งย่าง น้ำจิ้มทำได้บ้าง ส่วนถ้าทางด้านภาษา ด้วยความที่ได้ใช้ทุกวัน speaking ผมรู้สึกว่าผมอยู่กับ flatmate บ่อย ไม่ใช่คนไทยผมก็จะได้ใช้ภาษาครับ แล้วด้วยความโชคดีด้วย ผมรู้สึกว่าผมอยู่กับเป็น Chinese ที่เก่งภาษาอังกฤษ IELTS เขาประมาณ 7.5-8 เพราะฉะนั้นอะไรที่ไม่ถูก เขาแก้ให้ ผมโคตรอายเลย ผมก็ว่ามันเป็นวิธีการหนึ่งของการเรียนรู้ แล้วฟังเราใช้ฟังกับพูดไปด้วยกันนะครับ อ่านเราใช้เหมือนกัน ใช้ในการเรียนในการอ่านเพื่อไปสอบ เราเขียน article ส่งเขาใน dissertation เป็นหมื่นกว่าคำ มันใช้ 4 skill ครบถ้วน เพราะฉะนั้นมันไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะไม่พัฒนา
ไปที่โน่นมี Connection คือรุ่นพี่ส่งต่อรุ่นน้อง หรือมีเป็นกลุ่ม line กัน meeting กันอย่างนี้บ้างไหม เผื่อไปแรกๆแล้วรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องติดต่อใครมีบ้างไหมหรือว่า อะไรยังไง ตอนไปเจอเพื่อนยังไง make friend ยังไง เริ่มจับคนไทยก่อนหรือต่างชาติก่อน?
พี่ไผ่: ของผมตั้งแต่ตอนที่ไป เขาสร้างเป็น Line กลุ่ม ของนักเรียนที่จะไปเรียนกลาสโกว์ในมหาวิทยาลัย แล้วพอไปถึง เริ่มเปิดเทอมได้สักพักหนึ่งไม่นาน ก็นัดกันในกลุ่มลองจัด meeting เล็กๆไหม ลองมาเจอกันไหม แลกเปลี่ยน contact กันจะได้รู้จักกันมากขึ้น อย่างน้อยเจอคนไทยก็อุ่นใจ มันมีอะไรเกิดขึ้นอย่างน้อยก็มีคนไทยด้วยกัน และผมอยู่เป็นแฟลต เราก็จะมาเจอกับ flatmate แล้วก็เป็นอีกกลุ่มสังคมหนึ่ง ที่ทำให้เราได้เจอเพื่อนใหม่ เพราะว่าคนที่เราจะอยู่ด้วย ห้องที่ผมอยู่เป็นรูปแบบของ home sweet จะใช้ kitchen รวม และ flatmate จะเข้ามาทำอาหารช่วงเวลาพบปะสังสรรค์ ซึ่งเผอิญว่า flatemate ผมนิสัยคล้ายๆกัน กลับมาเวลาก็คล้ายๆกัน ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน เลยสนิทกันไว และที่สำคัญก็คือเจอกันทุกวัน เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนในกลุ่มที่ว่าค่อนข้างสนิทที่สุดนะครับ เพราะว่าใช้เวลาด้วยกันเยอะ เป็นคนจีนส่วนใหญ่ เพราะว่าหอผมเป็นหอที่คนจีนอยู่เยอะก็ถือว่าโชคดี เพื่อนก็เคยเล่าเหมือนกันว่า บางแฟลตส่วนมากอยู่ในห้องตัวเองยังพอดีว่าโชคดีว่าห้องของผมมีโอกาสได้เจอเยอะ ทางด้านสังคมเป็นประมาณนี้ แล้วก็เพื่อนในคลาสอย่างที่บอกเวลาเรียน นอกจากเรียนในห้องที่เป็น Lecture Room จะมีส่วนที่เป็น tutorial ก็มีบางครั้งว่าคุยกันไม่เสร็จก็ออกไปคุยกันข้างนอกบ้างก็มี จะได้วนๆไปหลายรูปแบบ
Reading list ที่อาจารย์ให้ คือปกติจะแบบว่ากังวลเพราะมันจะเยอะมาก ถามว่าทุกคนอ่านหมดเหมือนที่อาจารย์ recommend ให้อ่านหรือเปล่า หรือมีเทคนิคการอ่านเก็บข้อมูลยังไง เข้าไปในห้องแล้วไป discuss กับเขาได้?
คุณไผ่: Reading List เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ถ้าไม่อ่านก็ไม่เป็นไร คือตอนแรกๆ ด้วยความที่เราตั้งใจไปเรียนเขาส่งอะไรมาเราก็อ่าน เราค้นพบจริงๆว่า อ่านยังไงก็อ่านไม่หมด พอเราหันไม่หมดก็เลยไม่ต้องอ่าน แต่เอาจริงๆผมพูดเล่น หลักๆอย่างที่พี่เขาบอกบอกว่า Lecture note สำคัญกว่า เขาจะเอา Reading List นี่แหละ สมมติให้มา Article หนึ่ง เป็นเล่มๆ หยิบมาแค่ 3-4 ประโยค เราก็ไปอ่าน lecture note ตรงที่สุดแล้วครับ คือในความรู้สึกผมว่า การอ่าน Lecture notes แต่อ่านจริงๆนะ มันมีตัวอย่างโจทย์มาให้ เราก็อ่านตัวอย่างโจทย์เยอะๆ ตอนเรียนป.ตรี เราเน้นโจทย์เป็นหลักๆ พอเราอ่านโจทย์ไปเยอะๆ ทำบ่อยๆสักพักมันจำของมันได้ ทำข้อสอบก็ไม่ยาก ส่วนในตัว Reading List จริงๆผมรู้สึกว่าส่วนใหญ่จะเป็นน้ำนะ มันค่อนข้างจะเป็นบรรยายซะส่วนใหญ่ ตัวเนื้อจริงๆอยู่ใน Lecture note บางที Lecture Note จะให้มาไม่ครบนะครับ บางทีเราอยากเข้า Lecture Room lecturer เขาก็จะบรรยายมา บางทีบางอย่างเขาจะเน้นอะไรหนักๆเน้นมาแล้วเก็บมาให้หมด แล้วก็ข้อสอบเก่าเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วของปีพี่อาจจะค่อนข้างตรง พอดีเป็นปีเจอโควิดข้อสอบรู้สึกจริงๆนะ ปกติเขาจะให้ทำ 2 ชั่วโมง แต่พอเป็นปีผม เขาให้ทำออนไลน์ 24 ชั่วโมง ผมรู้สึกว่า รู้สึกจริงๆเลย ข้อสอบมันยากขึ้นแบบเยอะ
มีอาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นวิชาที่ผมชอบมากคือ Structure on analysis การวิเคราะห์โครงสร้าง อาจารย์เป็นอาจารย์ท่านที่เก่ง และบรรยายอย่างดีและตอนสอบเขาก็บอกว่า เขาก็พูดให้เด็กฟังบอกว่าข้อสอบลักษณะคล้ายๆเดิมนะ เราจะออกข้อสอบอยู่ 3 ข้อถึงแม้ว่าจะเป็นออนไลน์ แต่เราออก 3 ข้อ คุณอยากจะทำอะไรก็ได้เลยเต็มที่ พอข้อสอบมันมาจริง 3 ข้อ แต่มันประมาณ 10 ข้อย่อยในแต่ละข้อ ไม่ได้โกหกนะ แล้วพอทำจริงมัน 24 ชั่วโมงจริงๆนะ เขาบอกว่าให้ทำภายใน 3 ชั่วโมง ใครจะทำได้ผมก็นั่งทำจนครบ 24 ชั่วโมง โชคดีว่าเสร็จทัน แล้วค่อยได้ไปพักอย่างนี้ คืออาจารย์แกก็ต้องกลัวเด็กลอก เขาก็ป้องกันวิธีป้องกันที่ดี คือ ออกให้ยาก แล้วต้องทำให้ได้ทั้งหมด
เรื่องค่าใช้จ่ายประจำเดือนใช้เดือนละเท่าไหร่?
พี่ไผ่: จริงๆค่าใช้จ่ายของแต่ละคนมันก็ subjective ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ยังไง จริงๆหลักๆของทุกคนมีค่าที่อยู่ ค่ากิน ค่าเดินทาง ของผมโชคดีค่าเดินทางไม่ต้อง หออยู่ใกล้ๆเลยตัดออกไปจะมีแค่ค่าอยู่กับค่ากิน อันนี้ก็ขอแชร์ประสบการณ์ จะได้เป็นแนวทางในการวางแผนของน้องๆด้วยนะครับ ถ้าอยู่จริงๆแล้วเท่ากันหมดเลย ของผมประมาณ 140-150 อันนี้ก็คือต่อสัปดาห์นะครับ สมมุติว่า 145 คูณ 4 ประมาณ 600
การเดินทางควรจะวางแผนล่วงหน้า โดยใช้รถไฟ ของผมปกติเที่ยวนะครับ ไม่ชอบวางแผนเหมือนกัน แล้วด้วยความที่เราไม่รู้ว่า เราอยากจะไปวันไหนจริงๆ ให้ลองเทียบเรื่องค่าตั๋วเครื่องบินมาด้วย ตอนนั้นนะครับจากกลาสโกว์บินเข้าลอนดอน เมื่อคำนวณค่าเข้ากับรถไฟ ปรากฏว่าตั๋วเครื่องบินถูกกว่า ถึงแม้ว่าลดแล้วนะ บัตร real card มันลดได้ 1 ใน 3 นะครับ
สำหรับน้องๆที่สนใจเรียนต่อด้าน Civil Engineering & Management หรือสมัครเรียนที่ University of Glasgow สามารถลงทะเบียนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างนี้เลยค่ะ"